เมื่อวันก่อนได้ดูสารคดีของ Oliver Stone เรื่อง Untold History of the United States โดยเฉพาะในช่วงตอนช่วงปลายศตวรรษที่ 20 คริสตศตวรรษที่ 1950s - 1990s ที่เต็มไปด้วยความผันผวนและร้อนระอุในโลก -- ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามเย็น (Cold War - 1945-1991) วิกฤติการณ์ขีปนาวุทธคิวบา Bay of Pig (1959) ที่สหรัฐฯ เผชิญหน้ากับ โซเวียต เรื่องคิวบา จนเกือบจะระอุเป็นสงครามนิวเคลียร์ การสร้างกำแพงเบอร์ลินที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเส้นคั่นระหว่างโลกเสรีและโลกสังคมนิยม การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี้ (22 พฤษจิกายน 1963) สาธุคุณดอกเตอร์มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้นำการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของคนอาฟริกันอเมริกัน (4 เมษายน 1968) และวุฒิสมาชิกโรเบิร์ต เคเนดี้ ตามมาติดๆ (5 มิถนายน 1968) สงครามเวียตนาม (1955-1975) ฯลฯ
เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เป็นชนวนให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาวที่ลุกขึ้นมาต่อต้านและสวนกระแสสังคม และเกิดสิ่งที่อยากจะขอเรียกว่า "วัฒนธรรมแหกคอก" หรือ "Counterculture" ขึ้นในยุโรปและอเมริกา ที่เด่นๆ แบ่งออกเป็น ยุคโรแมนติก (Romanticism, 1790-1840), ยุคโบฮีเมียน (Bohemianism - 1850-1910), ยุคบีทเจเนอเรชั่น (Beat Generation, 1944-1964) ที่หลงเหลือให้เห็นอย่างชัดเจนในซานฟรานซิสโก และได้ยินคนพูดบ่อยๆ ถึงคำว่า "บีทนิก" (Beatnik) และจะได้เล่าในตอนต่อไป, ยุคบุปผาชน หรือยุคฮิปปี้ (The Hippies1964-1974) และ ฮิปสเตอริซึ่ม (Hipsterism, 1990s-2010s) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะช่วง 1950s-1960s ที่มีอิทธิพลกับศิลปะและวัฒนธรรม
ยุค 50s-60s เป็นยุคที่เราคุ้นเคยกันดีจากการนำเสนอทางสื่อ โดยเฉพาะภาพยนต์ฮอลลีวู้ดที่มีการสะท้อนภาพในสังคมให้เห็นความสับสนของคนหนุ่มสาวที่ต้องการหาคำตอบและทางเลือกใหม่ ในยุคสมัยนั้น จนหลายๆเรื่องกลายเป็นตำนานคลาสสิคไป --หนังฮอลลีวู้ดอย่าง The Wild One (1953) ที่ทำให้มาร์ลอน แบรนโด กลายมาเป็นแบบอย่างของ ultimate bad boy
Photo courtesy of the man's man xix: marlon brando |
Photo: Courtesy of Polaroids on Sidewalks |
จนมาถึงยุค bikers เฟื่องฟูถึงขีดสุด อย่างในหนังเรื่อง Easy Rider (1969) ที่ทำให้รถ"ฮาร์เล่ย์" หรือ ฮาลี่ย์เดวิดสัน (Harley Davidson) และ กางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi's Strauss) กลายมาเป็นสินค้าส่งออกอันดับแนวหน้าของอเมริกาไปด้วย
Photo: courtesy of A Window Somewhere |
แล้วก็เลยนึกโยงใยไปถึงช่างภาพสตรีทแนวแหกคอก แดนนี่ ลีออน (Danny Lyon) ที่เพิ่งมีนิทรรศการภาพถ่ายชื่อ This World Is Not My Home หรือ โลกนี้ไม่ใช่บ้านของฉัน ที่พิพิธภัณฑ์ดียัง (De Young Museum) ซานฟรานซิสโก ที่ได้ไปดูเมื่อสองสามเดือนก่อน
แดนนี่ ลีออน เป็นช่างภาพสตรีทแนวหน้าของอเมริกาที่โด่งดังในความแปลกแยกของเนื้อหาที่เขานำเสนอ เขาทำให้ผลงานของตัวเองฉีกแนวออกมาจากช่างภาพร่วมสมัยด้วยการเข้าไปใช้ชีวิต คลุกคลีกับกลุ่มคนที่เขาต้องการนำเสนอ และให้ความสนใจกับชนชั้นที่อยู่ในเงามืดของสังคม อย่างกลุ่มแก้งค์ นักบิด (bikers) ขอทาน โสเภณี นักโทษในเรือนจำ ฯลฯ)
New arrivals from Corpus Christi from Conversations with the Dead by Danny Lyon,circa 1967-68; Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA |
Danny Lyon, Llanito, New Mexico 1970. The Menil Collection, Houston Magnum Photos, and the Edwynn Houk Gallery © Danny Lyon Courtesy Dektol.wordpress.com |
Jack, Chicago from The Bikeriders by Danny Lyon,1965; Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA |
Three young men, Uptown, Chicago Pictures from the New World by Danny Lyon,1965; Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA |