Sunday, January 20, 2013

Counterculture (part 1) - วัฒนธรรมแหกคอก ตอนที่ 1


เมื่อวันก่อนได้ดูสารคดีของ Oliver Stone เรื่อง Untold History of the United States โดยเฉพาะในช่วงตอนช่วงปลายศตวรรษที่ 20 คริสตศตวรรษที่  1950s - 1990s ที่เต็มไปด้วยความผันผวนและร้อนระอุในโลก -- ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามเย็น (Cold War - 1945-1991) วิกฤติการณ์ขีปนาวุทธคิวบา Bay of Pig (1959) ที่สหรัฐฯ เผชิญหน้ากับ โซเวียต เรื่องคิวบา จนเกือบจะระอุเป็นสงครามนิวเคลียร์ การสร้างกำแพงเบอร์ลินที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเส้นคั่นระหว่างโลกเสรีและโลกสังคมนิยม  การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี้ (22 พฤษจิกายน 1963) สาธุคุณดอกเตอร์มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้นำการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของคนอาฟริกันอเมริกัน (4 เมษายน 1968) และวุฒิสมาชิกโรเบิร์ต เคเนดี้ ตามมาติดๆ (5 มิถนายน 1968) สงครามเวียตนาม (1955-1975) ฯลฯ

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เป็นชนวนให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาวที่ลุกขึ้นมาต่อต้านและสวนกระแสสังคม และเกิดสิ่งที่อยากจะขอเรียกว่า "วัฒนธรรมแหกคอก" หรือ "Counterculture" ขึ้นในยุโรปและอเมริกา ที่เด่นๆ แบ่งออกเป็น ยุคโรแมนติก (Romanticism, 1790-1840), ยุคโบฮีเมียน (Bohemianism - 1850-1910), ยุคบีทเจเนอเรชั่น (Beat Generation, 1944-1964) ที่หลงเหลือให้เห็นอย่างชัดเจนในซานฟรานซิสโก และได้ยินคนพูดบ่อยๆ ถึงคำว่า "บีทนิก" (Beatnik) และจะได้เล่าในตอนต่อไป, ยุคบุปผาชน หรือยุคฮิปปี้ (The Hippies1964-1974) และ ฮิปสเตอริซึ่ม (Hipsterism, 1990s-2010s) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะช่วง 1950s-1960s ที่มีอิทธิพลกับศิลปะและวัฒนธรรม

ยุค 50s-60s เป็นยุคที่เราคุ้นเคยกันดีจากการนำเสนอทางสื่อ โดยเฉพาะภาพยนต์ฮอลลีวู้ดที่มีการสะท้อนภาพในสังคมให้เห็นความสับสนของคนหนุ่มสาวที่ต้องการหาคำตอบและทางเลือกใหม่ ในยุคสมัยนั้น จนหลายๆเรื่องกลายเป็นตำนานคลาสสิคไป --หนังฮอลลีวู้ดอย่าง The Wild One (1953) ที่ทำให้มาร์ลอน แบรนโด กลายมาเป็นแบบอย่างของ ultimate bad boy

Photo courtesy of the man's man xix: marlon brando
Rebel Without A Cause (1955) ที่ทำให้เจมส์ ดีน (James Dean) ในชุดกางเกงยีนส์ เสื้อหนัง หรือเสื้อกล้ามขาว คาบบุหรี่ สวมแว่นตาเรย์ แบนด์ กลายมาเป็นไอคอนของเด็กวัยรุ่นจากชนชั้นกลาง จนเป็นที่คลั่งไคล้ของเหล่าวัยรุ่นไปทั่วโลก


Photo: Courtesy of Polaroids on Sidewalks

จนมาถึงยุค bikers เฟื่องฟูถึงขีดสุด อย่างในหนังเรื่อง Easy Rider (1969) ที่ทำให้รถ"ฮาร์เล่ย์" หรือ ฮาลี่ย์เดวิดสัน (Harley Davidson) และ กางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi's Strauss) กลายมาเป็นสินค้าส่งออกอันดับแนวหน้าของอเมริกาไปด้วย

Photo: courtesy of A Window Somewhere

แล้วก็เลยนึกโยงใยไปถึงช่างภาพสตรีทแนวแหกคอก แดนนี่ ลีออน (Danny Lyon) ที่เพิ่งมีนิทรรศการภาพถ่ายชื่อ This World Is Not My Home หรือ โลกนี้ไม่ใช่บ้านของฉัน ที่พิพิธภัณฑ์ดียัง (De Young Museum) ซานฟรานซิสโก ที่ได้ไปดูเมื่อสองสามเดือนก่อน

Danny Lyon (American, b. 1942), Crossing the Ohio, Louisville, 1966. Gelatin silver print. The Menil Collection, Houston, gift of Kenneth G. Futter. Photograph © 2012 Danny Lyon/Magnum Photos. Courtesy of the Edwynn Houk Gallery and dektol.wordpress.com








แดนนี่ ลีออน เป็นช่างภาพสตรีทแนวหน้าของอเมริกาที่โด่งดังในความแปลกแยกของเนื้อหาที่เขานำเสนอ เขาทำให้ผลงานของตัวเองฉีกแนวออกมาจากช่างภาพร่วมสมัยด้วยการเข้าไปใช้ชีวิต คลุกคลีกับกลุ่มคนที่เขาต้องการนำเสนอ และให้ความสนใจกับชนชั้นที่อยู่ในเงามืดของสังคม อย่างกลุ่มแก้งค์ นักบิด (bikers)   ขอทาน  โสเภณี  นักโทษในเรือนจำ ฯลฯ)

New arrivals from Corpus Christi from Conversations with the Dead by Danny Lyon,circa 1967-68;  Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA

Danny Lyon, Llanito, New Mexico 1970. The Menil Collection, Houston
Magnum Photos, and the Edwynn Houk Gallery © Danny Lyon
Courtesy Dektol.wordpress.com

เขาบอกว่า จุดประสงค์ของเขาคือการทำลายล้าง “Life Magazine” ซึ่งเป็นนิตยสารภาพถ่ายชื่อดังในสมัยนั้น และต้องการนำเสนอภาพแนวแรงๆ ให้เป็นทางเลือกที่แปลกไปจาก ภาพที่เขาคิดว่าเป็นภาพจำเจน่าเบื่อที่ออกสื่อกันเกร่อในช่วงปี 1950s

Jack, Chicago from The Bikeriders by Danny Lyon,1965; Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA
นิทรรศการชุดนี้ ลีออนได้แรงบันดาลใจมาจากชื่อเพลงที่เขาร้องกับเพื่อนบนชายหาดใกล้ชิคาโก้ในปี 1963 โดยที่เพื่อนของเขาเสียชีวิตหลังจากนั้นมาไม่นานนัก  -- นิทรรศการ “This World is Not My Home” หรือ “โลกนี้ไม่ใช่บ้านของฉัน”  นั้นเป็นการฉลองครบรอบ 50 ปี ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของแดนนี่ ลีออน ผู้ซึ่งให้คำจำกัดความงานของเขาเองว่าเป็น สไตล์  “Romantic Realism” หรือ “เสมือนจริงแบบโรแมนติก”

Three young men, Uptown, Chicago Pictures from the New World by Danny Lyon,1965; Photo: courtesy of L'OMBELICO DI SVESDA
ต้องยอมรับว่าตอนแรกที่ดูภาพไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมเท่าไหร่นัก จนรู้สึกว่าภาพออกจะธรรมดาด้วยซ้ำ จนกระทั่งมาวันนี้มีเรื่องมาจุดประกายความคิดขึ้นมา ทำให้รู้สึกว่าเกิดความสนใจขึ้นมามาก ซึ่งก็เป็นปกติ -- เวลาเข้าใจที่มาที่ไปและเบื้องหลังภาพ สร้างบริบทให้กับภาพจึงเกิดความต่อเนื่องของเรื่องราว